การเลือกใช้ท่อพีอีให้เหมาะสมกั...
ReadyPlanet.com


การเลือกใช้ท่อพีอีให้เหมาะสมกับงาน


การเลือกใช้ท่อพีอีให้เหมาะสมกับงาน

ท่อ PE คืออะไร

         ท่อ PE หรือ ท่อพีอี มีชื่อหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า HDPE PE เป็นท่อพลาสติกเนื้อเหนียวที่มีความหนาแน่นสูง มีความแข็งแรงทนทานต่อการกระแทกมีความสามารถทนต่อกรดและการกัดกร่อนของสารเคมีได้มากมาย น้ำหนักเบาทำให้ขนส่งง่าย ทนต่อแสงยูวี ไม่เปราะแตกหรือเสื่อมสภาพง่าย ไม่เป็นสนิม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานยาวนาน

การเลือกใช้ท่อพีอีให้เหมาะสมกับงาน

1. ท่อพีอี สำหรับงานไฟฟ้า ร้อยสายไฟ

         ท่อพีอีที่นิยมใช้ในงานประปาจะมีแถบที่เป็นสีส้มเป็นสัญลักษณ์มีความแข็งแรงและหนาแน่นสูง มีคุณสมบัติกันไฟฟ้าได้ดี ทนทานต่อไฟ ลดความเสี่ยงของกระแสไฟฟ้ารั่ว ยืดหยุ่นตัวได้ดี ทนต่อแรงกดอัดและแรงดันไฟฟ้าได้ปานกลาง ทนได้ต่อแรงกระแทกและแรงกดทับ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเริ่มตั้งแต่ 32 -160 มิลลิเมตร มีความยาวมาตรฐานอยู่ที่ท่อนละ 6 เมตร  สามารถเชื่อมต่อได้ง่าย มีข้อต่อให้เลือกเยอะ เหมาะสำหรับใช้ในการเดินสายไฟฟ้าในพื้นที่โล่ง  งานร้อยสายไฟบนดินและใต้ดิน บนฝ้าในตัวอาคาร, เดินสายใต้ดินทั้งยังแรงดันต่ำและ ร้อยสายไฟ ท่อร้อยสายไฟ

2. ท่อพีอีสำหรับงานเกษตรกรรม

         ท่อพีอีที่ใช้ในงานเกษตรกรรมหรืองานชลประทานจะต้องที่เน้นชนิดที่ทนต่อการกัดกร่อนสูง เพราะในบางครั้งอาจจะต้องใช้ขนส่งสารเคมี น้ำเสีย ตะกรัน โคลนและน้ำเกลือ

3. ท่อพีอีลูกฟูก

         คือ ท่อพีอีที่ผลิตจากวัสดุประเภทโพลีเอทีลีน (PE) แต่ลักษณะของท่อจะเป็นลอน สามารถโค้งงอง่าย ทนแรงกดทับได้ดี น้ำหนักเบา ทนความร้อน ทนต่อสารเคมี เหมาะกับการนำไปใช้งานที่หลากหลายทั้งร้อยสายไฟ ฝังใต้ดิน ท่อซับน้ำ ท่อภายในรถยนต์ ท่อบำบัดน้ำเสีย ใช้ทดแทนท่อเหล็กได้เพราะมีน้ำหนักเบากว่า ไม่เสี่ยงต่อสารปนเปื้อนจากสนิม ป้องกันรอยขีดข่วนได้ดี

4. ท่อพีอีสำหรับส่งแก๊สธรรมชาติ

         ท่อ PE เหมาะสำหรับการใช้ขนส่งแก๊สธรรมชาติ เนื่องจากท่อพีอีมีความยืดหยุ่นของท่อได้สูง นำไปบิดและโค้งงอได้ดี เมื่อนำไปฝังดินหรือติดตั้งใช้งานจะช่วยให้ลดปัญหาท่อแตกเปราะใต้ดิน มีน้ำหนักเบาเมื่อเทียบกับท่อเหล็ก นอกจากนี้ยังทนต่อสภาพแวดล้อมได้สูงกว่าหากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว ดินทรุดตัว ตัวท่อก็ไม่ได้รับความเสียหาย



ผู้ตั้งกระทู้ ananchait กระทู้ตั้งโดยสมาชิก :: วันที่ลงประกาศ 2022-02-10 17:28:39


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล